“สปริงเกอร์” หัวใจสำคัญสำหรับการทำการเกษตรในทุกวันนี้ คงมีเพียงไม่กี่สวนในไทย ที่ไม่ได้นำเอาระบบน้ำที่สะดวกเช่นนี้เข้าไปใช้งาน ในบทความนี้เราจะมาแนะนำให้คุณได้ รู้ลึก รู้จริง ให้มากขึ้นกับเรื่องราวต่าง ๆ ของสปริงเกอร์ เพื่อช่วยให้คุณได้ทำความเข้าใจกับระบบนี้ให้มากขึ้น เนื่องจากมีหลายคนที่ติดตั้งด้วยตนเองแล้วใช้งานผิดประเภท ส่งผลให้เสียงบประมาณไปฟรี ๆ โดยไม่ได้ผลตอบแทนที่คุ้มค่า หากคุณไม่อยากมีประสบการณ์เช่นนั้น เราแนะนำเลยว่าอ่านบทความนี้ให้จบ แล้วมีเรื่องราวดี ๆ มาแนะนำให้คุณอย่างแน่นอน
สปริงเกอร์เป็นหนึ่งในระบบน้ำ มีการออกแบบมาเพื่อการกระจายน้ำออกเป็นวงกว้าง นิยมใช้กับการทำสวน ช่วยทำให้การรดน้ำต้นไม้ในปริมาณมาก ๆ ไม่จำเป็นต้องเปลืองแรงอีกต่อไป เพียงติดตั้งระบบสปริงเกอร์ในจุดที่คุณต้องการ เมื่อต้องการรดน้ำก็แค่เปิดให้น้ำไหลเข้าไปทำให้สปริงเกอร์ทำงาน นอกจากการรดน้ำแล้วยังมีการติดตั้งสปริงเกอร์บนหลังคา เพื่อช่วยลดความร้อนภายในอาคารอีกด้วย ที่จริงยังมีการประยุกต์ใช้งานอีกมากมาย ยกตัวอย่างเช่น การนำไปใช้ในระบบดับเพลิง เป็นต้น
คุณอาจมองว่าสปริงเกอร์คืออุปกรณ์ที่ใช้กระจายน้ำออกไป 360 องศาเพียงเท่านั้น แต่ที่จริงแล้วไม่ใช่เลย สปริงเกอร์มีการแบ่งประเภทออกมาอีกนับไม่ถ้วน แต่ละประเภทก็มีการใช้งานที่แตกต่างกันออกไป การเลือกใช้งานผู้ใช้จะต้องเลือกให้ตรงความต้องการมากที่สุด โดยชนิดของหัวสปริงเกอร์ที่ได้รับความนิยมในไทย มีดังต่อไปนี้
- แบบน้ำหยด (Drip) เป็นระบบที่ให้น้ำน้อย น้ำจะไม่พุ่งออกอย่างที่เราคุ้นเคย แต่ละเป็นน้ำที่หยดเพียงน้อยนิด ใช้แรงดันน้ำต่ำ เหมาะกับพืชที่ต้องการน้ำน้อย
- แบบมินิสปริงเกอร์ (Mini Sprinkler) เป็นระบบที่เราคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี มีหน้าที่กระจายหน้าเป็นวงกว้าง 360 องศา ที่จริงแล้วยังแบ่งออกได้อีกคือ
- แบบละอองหมอก (Fogger) น้ำที่พ่นออกมาจะมีละอองขนาดเล็ก เป็นเหมือนหมอกที่ลอยฟุ้งอยู่ในตำแหน่งนั้น ๆ เหมาะกับการใช้ในโรงเรือน รดน้ำพืชที่มีขนาดเล็กเป็นหลัก
- แบบเจ๊ทสเปรย์ (Jet Spray) หัวสปริงเกอร์ชนิดนี้ค่อนข้างประยุกต์ได้ สามารถพ่นเป็นเส้นและเป็นหมอกได้ในคราวเดียว เหมาะกับพืชพุ่มขนาดเล็ก
- แบบบิ๊กกัน (BIG GUN) จากชื่อคงไม่ต้องอธิบายการทำงานนั้นคงไม่ต้องอธิบายอะไรมาก เป็นการพ่นน้ำในจำนวนมหาศาล นิยมใช้ในสนามฟุตบอล สนามกอล์ฟ เป็นต้น
- แรงดันน้ำ การใช้สปริงเกอร์เพื่อรดน้ำต้นไม้ ถ้าต้องการผลลัพธ์ที่ดีที่สุด จะต้องคำนวณแรงดันในท่อว่าเพียงพอหรือไม่ ปั๊มมีขนาดใหญ่พอหรือไม่ ก่อนติดตั้งเสมอ
- ประเภทของหัว สปริงเกอร์ในแบบต่าง ๆ มีความสามารถที่เฉพาะเจาะจง ควรเลือกให้เหมาะสมกับความต้องการมากที่สุด
- ความต้องการ ควรวางแผนการติดตั้งสปริงเกอร์ให้รอบคอบ โดยคำนวณจากการเดินท่อ ความกว้างของพื้นที่ ไปจนถึงจำนวนหัวของสปริงเกอร์
- ขั้นตอนการติดตั้ง หากไม่มั่นใจในขั้นตอนการติดตั้ง แนะนำให้ปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญจะดีที่สุด การฝืนติดตั้งด้วยตนเองอาจทำให้เกิดข้อผิดพลาด ซึ่งอาจแก้ไขได้ยากด้วยตนเอง
- ประเภทของดิน สำหรับการใช้งานสปริงเกอร์เพื่อการเกษตร ควรรู้ว่าในพื้นที่นั้น ๆ มีพื้นดินเป็นเช่นใด อุ้มน้ำหรือไม่ หรือเป็นดินที่ซึมน้ำได้ดี เพื่อกำหนดจำนวนน้ำที่ต้องใช้ในแต่ละวัน
บทส่งท้าย
สปริงเกอร์ถือเป็นเครื่องทุ่นแรงที่มีอิทธิพลต่อการทำเกษตรเป็นอย่างมาก เนื่องจากช่วยทุ่นแรงให้กับมนุษย์ได้เป็นอย่างดี ช่วยควบคุมในส่วนของงบประมาณ ไม่ให้บานปลายไปกับการจ้างแรงงาน นอกจากนั้นยังประยุกต์ใช้งานได้อีกหลายอย่าง ทั้งการใส่ปุ๋ยลงไปในน้ำเพื่อกระจายอย่างทั่วถึง ไปจนถึงการติดตั้งอุปกรณ์ตั้งเวลาเพื่อให้การรดน้ำเป็นไปตามวงรอบอย่างอัตโนมัติ เป็นต้น เราหวังว่าบทความนี้จะช่วยให้คุณเข้าใจระบบสปริงเกอร์มากยิ่งขึ้น และช่วยให้คุณสามารถเลือกซื้อสปริงเกอร์ ที่เหมาะกับการใช้งานของคุณได้อย่างตรงใจมากที่สุด