เป็นระบบที่ระบายน้ำเสีย ออกจากอาคารที่พักอาศัยไปสู่ระบบบำบัดน้ำเสียและระบบระบายน้ำสาธารณะ โดยท่อที่ใช้เป็นท่อพีวีซี(PVC)ที่มีขนาดใหญ่กว่าท่อประปาน้ำดี คือ ขนาด 2”-10” และเป็นท่อชั้นคุณภาพ 5 สำหรับงานระบายน้ำที่ไม่มีแรงดันภายในเส้นท่อ
ระบบระบายน้ำแบ่งเป็น 4 ระบบย่อยได้แก่
1.ระบบระบายน้ำทิ้ง - ระบายน้ำเสียที่ไม่มีสิ่งปฎิกูล เช่น น้ำจากรูระบายน้ำทิ้งที่พื้น อ่างล่างมือ อ่างอาบน้ำ โดยใช้ท่อขนาด 2” ต่อจากจุดระบายน้ำก่อนต่อเข้าสู่ถังบำบัด
2.ระบบระบายน้ำโวโครก - ระบายน้ำเสียที่มีสิ่งปฎิกูล เช่น โถปัสสาวะ โถชักโครก โดยใช้ท่อขนาด 2”-4” ต่อจากจุดระบายน้ำก่อนต่อเข้าสู่ถังบำบัด
3.ระบบระบายอากาศ - ระบายอากาศและกลิ่นเหม็นที่มาจากระบบระบายน้ำโสโครก และระบบระบายน้ำทิ้งออกนอกอาคาร โดยใช้ท่อขนาด 1”-2”
4.ระบบระบายน้ำทิ้งจากครัว - ระบายน้ำเสียจากิ่างล้างจานในห้องครัวโดยใช้ท่อขนาด 2” ต่อจากจุดระบายน้ำผ่านเข้าถังดักไขมัน ก่อนระบายน้ำไปสู่ระบบระบายน้ำสาธารณะ เพื่อป้องกันเส้นท่ออุดตัน จากไขมันในเศษอาหารที่มักเกาะตามผิวท่อ
กลิ่นเหม็นกวนใจ แก้อย่างไรดี?
ที่มาของกลิ่นเหม็นกวนใจในห้องน้ำ ปัจจัยหลักๆเกิดจากการไม่ได้ติดตั้ง พีแทรฟ(P-Trap) หรือ อุปกรณ์ดักกลิ่นที่อยู่ใต้รูระบายน้ำทิ้งที่พื้น(Floor Drain) โดยน้ำที่ขังอยู่ในพีแทรฟจะช่วยกันไม่ให้กลิ่นเห็มนจากท่อระบายน้ำลอยกลับขึ้นมาได้
รับมืออย่างไรเมื่อท่ออุดตัน?
ในการติดตั้งระบบระบายน้ำโสโครก ต้องติดตั้งช่องทำความสะอาด(Clean Out) ซึ่งมีลักษณะเป็นฝาครอบเกลียวปิดปลายท่อ ที่สามารถเปิดฝาเพื่อทำความสะอาดท่อเมื่อท่ออุดตันได้โดนการทำความสะอาด สามารถเปิดฝา ช่องทำความสะอาด และ ตักสิ่งที่อุดตันออกหรือดันเข้าไปเพื่อให้ไหลลงไปตามท่อ หรือเรียกรถสูบสิ่งปฎิกูลมาสูบของเสียที่อยู่ในท่อ ออกได้
มีที่กรองเศษอาหารแล้วแต่ทำไมท่อยังตัน?
ที่กรองเศษอาหารตรงอ่างล้างจาน ช่วยแค่กรองเศษอาหารเท่านั้น ไม่ได้กรองไขมันจากเศษอาหารซึ่งเป็นอีกตัวการสำคัญที่ทำให้ท่ออุดตันได้ โดยไขมันจะเกาะติดอยู่ในเส้นท่อและยิ่งจับตัวเป็นคราบหนาขึ้นเมื่อทิ้งไว้นานจนท่อตันได้ วิธีแก้ที่ดีจะต้องติดตั้ง ถังดักไขมัน ต่อจากอ่างล้างจาน เพื่อกรองไม่ให้ไขมัน หรือเศษอาหารจากอ่างล้างจานไหลทิ้งไปตามท่อได้อีก
กลิ่นเหม็นมาๆ หายๆ เป็นเพราะอุปกรณ์ไม่ดีหรือ?
ตัวช่วยที่คอยกันกลิ่นเหม็นไม่ลอยขึ้นมาทางระบบท่อระบายน้ำที่พื้นคือ พีแทรฟ และ ถ้วยดักกลิ่น แต่แม้จะติดตั้งแล้วกลิ่นเหม็นก็กลับมากวนใจเป็นครั้งคราว เพราะหลักการทำงานของอุปกรณ์ทั้ง 2 ชิ้น คือการปล่อยให้มีน้ำขังอยู่ในถ้วยรับน้ำของตัวอุปกรณ์ โดยน้ำจะเป็นตัวกันไม่ให้กลิ่นเหม็นลอยกลับมาได้ ดังนั้นหากไม่ได้ใช้ห้องน้ำ 3-4 วัน น้ำที่ขังอยู่ในอุปกรณ์ก็จะแห้ง และทำให้กลิ่นเหม็นลอยกลับขึ้นมาได้อีก
เบื่อไหม ที่ต้องวุ่นวายกับท่อเวลาปั้มเสีย?
ปั้มเสียแต่ละที คงหนีไม่พ้นการตัดท่อเพื่อยก ปั้มออกไปซ่อม ทั้งเสียแรง เสียเวลา วิธีป้องกันที่ดีคือการติดอุปกรณ์ ข้อต่อยูเนี่ยนสั้น ที่มีหัวเชื่อมต่อเป็นแบบเกียว โดยติดตั้งเข้ากับ ด้านรับและส่งน้ำเข้าออกปั้ม หรือด้านที่น้ำออกเพื่อให้สามารถถอดปั้มออกไปได้โดยไม่ต้องตัดและต่อประกอบท่อใหม่
ปั้มเสียไม่รู้สาเหตุ เป็นได้อย่างไร?
ปั้มเสียนั้นอาจเกิดจากแรงดันน้ำที่ไหลสวนทางกับระบบปั้มน้ำ จนทำให้เครื่องรวนได้ โดยในการติดตั้งปั้ม จำเป็นต้องติดอุปการณ์ เช็ควาล์ว(Check Valve) ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ช่วยกันไม่ให้น้ำไหลย้อนกลับหรือทำให้น้ำไหลไปทิศทางเดียว บริเวณหลังปั้มเพื่อกันน้ำไหลย้อนกลับเข้าปั้มน้ำ ซึ่งอาจให้ปั้มน้ำชำรุดได้
ก็อกน้ำรั่ว แก้ไม่หาย ทำอย่างไร?
การเลือกใช้อุปกรณ์ที่ไม่เหมาะสมอาจทำให้เกิดการรั่วซึมได้โดยเฉพาะบริเวณก๊อก หรือจุดจ่ายน้ำเข้าอุปกรณ์ต่างๆ ภายในบ้าน ควรเลือกใช้ ข้อต่อเกียวทองเหลือง ในการเชื่อมต่อแทนข้อต่อเกียวพีวีซีธรรมดา เพราะทนทานต่อการสึกหรอจากการติดตั้งอุปกรณ์ที่เป็นเกียวเหล็ก เช่น ก๊อกน้ำ ได้มากกว่าเกียวพีวีซี(PVC)
ครอบคลุมเรื่องระบบท่อ