สิ่งที่ควรรู้ก่อนการติดตั้ง ปั๊มน้ำเกษตร  

 สิ่งที่ควรรู้ก่อนการติดตั้ง_ปั๊มน้ำเกษตร

ก่อนอื่น เราต้องรู้จัก “ปั๊มน้ำ”กันก่อน ปั๊มน้ำ ก็คือเครื่องที่ใช้เพิ่มแรงดันน้ำเพื่อเคลื่อนจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง ปั๊มน้ำสมัยใหม่ถูกใช้ทั่วโลกเพื่อจ่ายน้ำสำหรับใช้ใน อุตสาหกรรม เกษตรกรรม และที่อยู่อาศัย ปั๊มน้ำยังใช้ในการเคลื่อนย้ายน้ำเสียในโรงบำบัดน้ำเสีย ปั๊มน้ำสมัยใหม่ส่วนใหญ่มักใช้ไฟฟ้า แต่แหล่งพลังงานอื่นๆ ก็ใช้เช่นกัน เช่น เครื่องยนต์ดีเซล หรือเบนซิน ในพื้นที่ห่างไกลบางแห่ง เช่น บริเวณทะเลทราย แผงโซลาร์เซลล์อาจใช้จ่ายพลังงานให้กับเครื่องสูบน้ำขนาดเล็ก ถ้าเป็นปั้มน้ำธรรมดา ก็คงจะเลือกไม่ยาก เลือกตามการใช้งานของบ้านๆนั้นๆ แต่พอเป็นการทำอาชีพเกษตรกรแล้ว ต้องคำนึงถึงปัจจัย หลายอย่าง 

สิ่งที่ควรคำนึงถึง ในการเลือกปั๊มน้ำ

  1. อัตราการไหล และกำลังแรงม้า

  2. วัสดุ วัสดุที่ทนต่อสภาพอากาศที่จำเป็นสำหรับการใช้งานแบบเปิดโล่ง

  3. ประเภทมอเตอร์ เชื้อเพลิง: ไฟฟ้า แก๊ส ดีเซล ไฮดรอลิก หรือแบบแมนนวล

  4. หัว การคายประจุของหัวทั้งหมดหรือกำลังสูงสุดของปั๊ม เหมาะสำหรับการใช้งานที่ต้องการ

bannerfbHDthaipipe_ ท่อpvc

สิ่งที่ควรรู้ก่อนการติดตั้งปั๊มน้ำ

·         เลือกขนาดปั๊มน้ำ

·         ดูสถานที่ที่จะติดตั้งให้เหมาะสม เพื่อความสะดวก ปลอดภัย และทนทาน

สิ่งที่ควรทราบก่อนการติดตั้ง  เพื่อให้ปั้มน้ำทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด

·         ศึกษาข้อมูลและคู่มือก่อนการติดตั้ง

·         การติดตั้ง - ซ่อม ควรทำโดยช่างที่มีความรู้ ความชำนาญ

·         ตัดไฟฟ้าก่อนทำการติดตั้ง เพื่อความปลอดภัย

·         ติดตั้งชุดควบคุม (เบรกเกอร์) เพื่อความปลอดภัยและสะดวกในการซ่อมบำรุง

·         ขนาดของสายไฟต้องรองรับกระแสไฟฟ้าที่ใช้กับปั๊มได้

·         ต้องติดตั้งเข้ากับถังเก็บน้ำ

·         ติดตั้งในที่ร่ม  เพื่อไม่ให้โดนแดดโดนฝน

·         ติดตั้งให้ห่างจากผนังอย่างน้อย 10 ซม. เพื่อให้อากาศถ่ายเทได้ และจได้ง่ายต่อการ ซ่อมบำรุง

·         ติดตั้งให้สูงจากพื้นเล็กน้อย อยู่บนฐานรอง เพื่อป้องกันน้ำขัง และ ทำความสะอาดง่ายอีกด้วย

·         ติดตั้งข้อต่อของปั๊มควรให้ได้ระนาบเดียวกันกับท่อน้ำ เพราะถ้าไม่ได้ระนาบอาจจะทำให้เสียหายได้ในขณะที่ปั้มทำงาน

·         ติดตั้งท่อน้ำควรระวังเรื่องเศษวัสดุและสิ่งสกปรกต่าง ๆ เข้าไปในท่อ ซึ่งจะทำให้ระบบเกิดการขัดข้องได้

 ปั๊มน้ำเกษตร

ข้อควรระวังก่อนการติดตั้งปั๊มน้ำเกษตร

อย่างแรกการเคลื่อนย้ายปั๊ม ควรกระทำด้วยความระมัดระวัง อย่าเหนี่ยวรั้งสายไฟของปั๊ม ศึกษาการใช้งานและข้อจำกัดการใช้งานโดยละเอียด ควรหลีกเลี่ยงการใช้สูบของเหลวที่ไม่ใช่น้ำ เช่น น้ำมัน หรือเคมีอื่นๆ หรือใช้งานในสภาวะที่อาจเกิดอันตรายได้ ตัวไฟฟ้าจ่ายเข้าตัวปั๊มจะต้องเป็นระบบเดียวกัน ควรติดตั้งอุปกรณ์ตัดไฟ และต่อสายดินทุกครั้ง เลือกใช้ท่อเหล็ก หรือท่อพลาสติกที่ทนแรงดันได้ เพื่อป้องกันการเสียหายอันเกิดจากแรงสุญญากาศขณะดูด ควรหลีกเลี่ยงการใช้ท่ออ่อน หรือสายยางสำหรับท่อดูด หรือท่อจ่ายเพื่อป้องกันท่อตีบและบิดงอ ไม่ควรใช้งานเกินประสิทธิภาพของปั๊มเพราะอาจทำให้ปั๊มเสียหายได้ ระวังไม่ให้ปั๊มโดนน้ำหรือฝนสาดเพราะอาจทำให้อายุการใช้งานของปั๊มสั้นลง ท่อดูดจะต้องใส่ฟุตวาล์ว (หัวกะโหลก) และอาจจะใส่ตัวกรองน้ำร่วมด้วย ปลายท่อดูดจะต้องจมอยู่ในน้ำ และควรห้างจากก้นย่อและผนังข้างบ่อไม่น้อยกว่า 1.5 เท่าของเส้นผ่าศูนย์กลางท่อดูด ควรจะต้องมีน้ำเต็มตลอดเวลาในขณะใช้งาน ท่อด้านจ่ายเหนือปั๊มน้ำให้ติด เช็ควาล์ว และประตูน้ำ หลีกเลี่ยงการต่อท่อหลายทาง หรือต่อท่อโค้งซิกแซกไปมา ก่อนติดตั้งและซ่อมบำรุงปั๊มจะต้องตัดกระแสไฟฟ้าออกก่อน

ปั้มน้ำที่แนะนำสำหรับชาวสวน เกษตรกร 

•              สำหรับการเกษตรนิยมใช้แบบปั๊มหอยโข่ง ซึ่งอาจขับด้วยมอเตอร์ไฟฟ้าหรือเครื่องยนต์ตามความเหมาะสม เช่น ปั๊มน้ำขับด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า ขนาด 2HP(แรงม้า) จะให้น้ำเฉลี่ย 25,000-30,000  ลิตร/ชั่วโมง ปั๊มน้ำขับด้วยเครื่องยนต์ แบบใช้เครื่องยนต์เบนซิลขนาด 5-7HP(แรงม้า) หรือแบบใช้เครื่องยนต์ดีเซลขนาด 8-12HP (แรงม้า) จะให้น้ำเฉลี่ย 20,000-50,000  ลิตร/ชั่วโมง แล้วแต่อัตราเร่ง

ปั๊มหอยโข่ง

•              ปั๊มหอยโข่งทั้งหมดมีใบพัดที่ขับเคลื่อนด้วยเพลาซึ่งหมุน โดยปกติแล้วจะอยู่ที่ 1750 หรือ 3500 รอบต่อนาที ภายในปลอก ใบพัดจะจมอยู่ในน้ำเสมอ และเมื่อปั๊มหอยโข่งทำงาน ใบพัดจะหมุนอย่างรวดเร็ว แรงเหวี่ยงหนีศูนย์กลางที่กระทำต่อน้ำจากการหมุนนี้จะทำให้น้ำไหลออกจากท่อระบายออก มีการนำของเหลวเข้ามามากขึ้นผ่านทางช่องดูดหรือทางเข้า ความเร็วที่ใบพัดป้อนให้กับของเหลวจะถูกแปลงเป็นพลังงานแรงดันหรือ หัว

การทำงาน ปั้มน้ำเกษตร _ปั้มหอยโข่ง

 รูปภาพ  itoolmart.com

•              ปั๊มหอยโข่งมีลักษณะเฉพาะเนื่องจากสามารถให้อัตราการไหลสูง และสูงกว่าปั๊มแบบดิสเพลสเมนต์ที่เป็นบวกส่วนใหญ่มาก และเนื่องจากอัตราการไหลแตกต่างกันไปตามการเปลี่ยนแปลงใน Total Dynamic Head (TDH) ของระบบท่อเฉพาะ ซึ่งช่วยให้อัตราการไหล ถูกจำกัดอย่างมากด้วยวาล์วธรรมดาที่วางไว้ในท่อระบาย โดยไม่ก่อให้เกิดแรงดันสะสมมากเกินไปในท่อหรือต้องใช้วาล์วระบายแรงดัน ดังนั้น ปั๊มหอยโข่งจึงสามารถครอบคลุมการใช้งานสูบน้ำของเหลวได้หลากหลายนั่นเอง

•              ปั๊มน้ำเกษตร  มักจะเป็นปัญหาให้กับผู้ที่ต้องการเลือกซื้อเอามาใช้งาน ไม่ว่าเพื่อนำมาใช้ในรูปแบบใดก็ตาม ถ้าเลือกที่ให้น้ำมากไปก็เสียเงินเกินความจำเป็น ตัวที่ให้น้ำน้อยไปก็เสียเงินซื้อเครื่องใหม่ ทำให้ต้องเสียทรัพย์เพิ่มโดยไม่มีความจำเป็น

•              จะพิจารณาจากอัตราการไหล ซึ่งบอกปริมาณน้ำ(Quantity – Q) ต่อหน่วยเวลาและแรงดันหรือแรงส่งน้ำ (Head – H)  จะบอกความสูงเป็นเมตร ทั้ง Qและ H จะเป็นตัวกำหนดกำลัง(แรง)ของเครื่องสูบน้ำนั้น ๆ ซึ่งอาจจะบอกเป็นวัตต์(W)กิโลวัตต์(KW) หรือแรงม้า(HP)  ตัวเลขดังกล่าวจะบอกไว้บน Name Plate บนตัวเรือนปั๊ม

•              การเลือกขนาดของปั๊มน้ำ ให้ความสำคัญ 2 ส่วนคือ ปริมาณการจ่ายน้ำ(Q) และ แรงดันน้ำ(H)

•              ปริมาณการจ่ายน้ำ(Q): คือปริมาณน้ำที่ต้องจ่ายในแต่ละครั้ง เช่นถ้าต้องการจ่ายน้ำครั้งละ1โซน Q = 6 ลบ.ม./ชม.

•              แรงดันน้ำ(H): ในพื้นที่ขนาดเล็ก ราบลุ่ม และใช้ท่อเมนไม่เกิน 100 เมตร จะต้องการแรงดันน้ำ H = 25 เมตร

•              ในพื้นที่ซึ่งระยะท่อเมนยาวกว่าปกติ คือมากกว่า 100 เมตร จะต้องเพิ่มค่าแรงดันมาตรฐาน(H=25)ขึ้นอีกเท่ากับ 4 เมตรทุกๆระยะท่อเมน 100 เมตร เช่น ระยะท่อเมน 300 เมตร ดังนั้นแรงดันน้ำที่ต้องการ(H) = 25 + (4*300/100) = 25+12 = 37 เมตร

•              ในพื้นที่เป็นเนินลาดชัน จะต้องเพิ่มค่าแรงดันมาตรฐาน(H=25)ขึ้นอีกเท่ากับระดับความสูงระหว่างพื้นที่กับปั๊มน้ำ เช่น พื้นที่เป็นเนินสูงขึ้น 5 เมตร ดังนั้นแรงดันน้ำที่ต้องการ(H) = 25+5 = 30 เมตร

•              หมายเหตุ 1.ในการเลือกปั๊มน้ำควรเพิ่มค่าแรงดันน้ำ(H)ขึ้นอีก ~30% เพื่อชดเชยแรงดันน้ำที่สูญในระบบ(Head Loss)

•              หน่วยวัดกำลังของมอเตอร์มี 2 ลักษณะ คือ HP(แรงม้า) และ Watt(วัตต์) (โดย 1 HP = 750 W.)

•              ข้อมูลไฟฟ้า จะต้องดูว่าใช้ไฟ กี่โวลต์ (V) ใช้กระแสไฟกี่แอมแปร์(A) ใช้ไฟ 1 เฟตหรือไฟ 3 เฟส  เพื่อเลือกเครื่องสูบที่ใช้ไฟฟ้าให้ตรงกับระบบไฟฟ้าของของสถานที่ติดตั้งเครื่องสูบน้ำ

Cr. pakwanban.com

นอกจาก ปั้มหอยโข่งแล้ว ปั้มที่ชาวสวนนิยมก้อจะมีดังนี้

ปั๊มน้ำเกษตรที่นิยม

1. ปั๊มน้ำซับเมอร์ส (Submersible Pump) หรือที่คนส่วนใหญ่ จะเรียกว่า ปั๊มบาดาล เป็นปั๊มน้ำที่เป็นเครื่องมือในการใช้สูบน้ำจากบ่อบาดาล มีส่วนประกอบที่สำคัญ 2 ส่วน นั่นก็คือ ส่วนมอเตอร์ และส่วนใบพัด ซึ่งจะนิยมใช้งานกับบ่อบาดาล จุดเด่น ดูดน้ำ ส่งน้ำ ได้สูงมากกว่า 100 เมตร

2. ปั๊มจุ่ม หรือเรียกอีกอย่างว่า ปั๊มไดโว่ เป็นอีกหนึ่งอุปกรณ์ของปั๊มน้ำ เหมาะกับการสูบ และจ่ายของเสีย ใช้กับสระน้ำ น้ำคลอง จุดเด่น สูบน้ำได้ปริมาณเยอะ ได้น้ำมาก ก่อนใช้งานปั๊มจุ่ม จะต้องวัดระดับ ความลึกของบ่อ ให้เหมาะสม ว่าลึกพอไหม หรือตื้นเกินไปหรือไม่ เพื่อดึงประสิทธิภาพในการใช้งานสูงสุด ข้อควรระวังของปั๊มจุ่มคือ ไม่ควรใช้งานเกิน 12 ชั่วโมง และควรเดินสายดิน เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ จากไฟฟ้า

BANNER_WEB

โทร.063-686-2900 / 083-992-5999 หรือ @ Line : @hdthaipipe พร้อมแจ้งความต้องการ ใช้ท่อ ขนาด และจำนวนการใช้ พร้อมสถานที่จัดส่ง
พนักงานขายเสนอราคา ให้คำปรึกษาการใช้งาน พร้อมลูกค้าสามารถชำระเงิน เข้าบัญชีบริษัทฯ
ลูกค้ารอรับสินค้า เพื่อใช้งานตามเวลาที่กำหนด
หากต้องทราบ ราคาท่อPVC ตราช้างscg ท่อพีวีซีสำหรับระบบประปาและระบายน้ำที่รวมส่วนลดแล้ว ก็สามารถติดต่อได้ตามที่อยู่ด้านล่างนี้ 
ติดต่อเรา
88/95 หมู่ที่ 5 ตำบล คลองสาม อำเภอ คลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120
โทร : 063-686-2900 / 083-992-5999
Line: @hdthaipipe
Facebook : HD Thai Pipe จำหน่าย ขายส่ง ท่อพีวีซี PVC ทุกขนาด ราคาโรงงาน

 

 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้